ศัตรูของผึ้ง ศัตรูของผึ้ง

การเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นนอกจากผู้เลี้ยงผึ้งจะประสบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการรังผึ้งแล้ว ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำความเสียหายให้กับผึ้งที่เลี้ยงก็คือปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่เป็นศัตรูของผึ้ง ซึ่งแบ่งออกเป็น
1. พวกสัตว์ที่กินผึ้งเป็นอาหาร
ได้แก่ แมงมุม จิ้งจก ตุ๊กแก คางคก กบ อึ่งอ่าง นกต่าง ๆ เช่นนกกิ้งโครง นกแอ่นลม กิ้งก่า จิ้งเหลน เป็นต้น สัตว์เหล่านี้จะจับกินผึ้งเป็นอาหาร เมื่อพบในแหล่งเลี้ยงผึ้งให้กำจัดทิ้งหรือไล่ไป และทำความสะอาดรังอยู่เสมอ
2. พวกแมลง
- หนอนผีเสื้อกินไขผึ้ง (Wax Moth) เป็นศัตรูที่สำคัญของผึ้งโพรงและพบในรังผึ้งที่อ่อนแอ มีประชากรน้อย ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง มาวางไข่ในรังผึ้งที่อ่อนแอ มีประชากรน้อย ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งมาวางไข่ในรังผึ้ง ตัวอ่อนซึ่งเป็นตัวหนอนจะไปกัดกินรวงผึ้งให้เสียหาย ป้องกันโดยทำให้ประชากรผึ้งแข็งแรง
- มดต่าง ๆ จะเข้าไปกัดกินตัวอ่อน ตัวแก่ตัวผึ้งและจะขโมยน้ำผึ้งในรัง ป้องกันโดยการใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องเก่าพันรอบเสาหรือขาตั้งรังผึ้ง
- ปลวก จะดักกินรังผึ้งทำให้รังเลี้ยงผึ้งผุกร่อนพังไปไม่สามารถใช้เลี้ยงผึ้งได้ ให้หมั่นตรวจทำความสะอาดรังผึ้งอย่างสม่ำเสมอ
- ไร ซึ่งดำรงชีวิตแบบตัวเบียนจะดูดกินของเหลวภายในตัวผึ้งหรือเลือดผึ้ง ไรที่เป็นศัตรูของผึ้งโพรง คือ ไรวาร์รัว ผึ้งที่ถูกไรเบียนถ้ารอดชีวิตอยู่ได้จะพิการ รูปร่างผิดปกติ ปีกไม่แผ่ออกในสภาพปกติตามธรรมชาติ ผึ้งโพรงจะมีความต้านทานต่อการระบาดของไรศัตรูผึ้ง โดยจะพบเห็นไรถูกผึ้งงานกัดทำลาย และถ้าในรังผึ้งโพรงมีไรระบาดมาก ผึ้งโพรงจะย้ายทิ้งรัง การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดไรจึงไม่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงผึ้งโพรง
3. โรคผึ้ง
โรคของผึ้งโพรงที่พบมากคือโรคแซดบรูคที่ระบาดในท้องที่ภาคใต้ เกิดจาก เชื้อไวรัส ลักษณะของโรคตัวอ่อนจะตายก่อนปิดฝาและระยะปิดฝา ตัวอ่อนมีสีขาวขุ่นถึงเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจึงค่อย ๆ แห้ง โดยส่วนหัวจะหด ส่วนท้ายจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำ การรักษาและป้องกันกำจัดโดยวิธีทำให้รังผึ้งแข็งแรงต้านทานโรค เปลี่ยนรวงตัวอ่อนที่เป็นโรคทิ้ง นำไปเผาทำลายทิ้งและเปลี่ยนนางพญาใหม่ เพราะอาจเกิดการแพร่เชื้อจากการวางไข่ของผึ้งนางพญา โดยการถ่ายทอดเชื้อทางกรรมพันธุ์

เมนูหลัก ผึ้งและการเลี้ยงผึ้ง